ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไปครั้งที่ 27 และเป็นครั้งที่ 3 ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้มีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ตามความในพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2556 ที่ให้ยุบสภาผู้แทนราษฎรเสีย ณ วันที่ 9 ธันวาคม 2556 โดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง กำหนดการรับสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อในวันที่ 23-27 ธันวาคม 2556 ระหว่าง 08.30 น. ถึง 16.30 น. ณ อาคารกีฬาเวสน์ 2 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร และการรับสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบแบ่งเขตเลือกตั้งในวันที่ 28 ธันวาคม 2556 - 1 มกราคม 2557 ระหว่าง 08.30 น. ถึง 16.30 น. และกำหนดให้เลือกตั้งล่วงหน้าในวันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม 2557

คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.) ต่อต้านการเลือกตั้งครั้งนี้ เนื่องจากเห็นว่าต้องการปฏิรูปการเมืองก่อนมีการเลือกตั้ง และได้ขัดขวางหน่วยเลือกตั้งในบางท้องที่ของกรุงเทพมหานครและภาคใต้จนไม่สามารถเปิดให้ลงคะแนนได้ ซึ่งส่งผลให้คณะกรรมการการเลือกตั้งไม่สามารถประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ได้และจะจัดให้มีการเลือกตั้งชดเชยในเขตที่เลือกตั้งไม่ได้ นอกจากนี้ พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคการเมืองพรรคเดียวที่คว่ำบาตรการเลือกตั้งครั้งนี้

ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้งเปิดเผยจำนวนผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งทั้งประเทศแบบไม่เป็นทางการในวันที่ 2 กุมภาพันธ์คิดเป็นร้อยละ 45.84 มีกำหนดการเลือกตั้งชดเชยในวันที่ 1-2 มีนาคม 2557

วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2557 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรที่กำหนดให้เลือกตั้งครั้งนี้ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพราะไม่สามารถเลือกตั้งให้แล้วเสร็จทั่วประเทศได้ภายในวันเดียวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 วรรคสอง และเมื่อพระราชกฤษฎีกาในส่วนที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งนี้จึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญไปด้วย

เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2557 ศุภชัย สมเจริญ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งแถลงภายหลังการประชุมร่วมกับคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมาย ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ถึงแนวปฏิบัติภายหลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญไม่ถือว่าการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโมฆะ (หรือเสมือนไม่เคยเกิดขึ้น) แต่ถือว่าการเลือกตั้งได้เกิดขึ้นแล้ว 1 ครั้ง

หลังพรรคเพื่อไทย พรรครัฐบาล พยายามผ่านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ ฝ่ายค้านกล่าวหาว่าพยายามนำอดีตนายกรัฐมนตรี พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ผู้ลี้ภัยหลังการกล่าวหาละเมิดอำนาจ กลับประเทศ ต่อมา เกิดการประท้วง ซึ่งรวมข้อเรียกร้องให้รัฐบาลลาออกและให้ตระกูลชินวัตรเลิกเกี่ยวข้องกับการเมืองไทย หลังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ลาออกทั้งหมด วันที่ 9 ธันาวคม ยิ่งลักษณ์แถลงทางโทรทัศน์ว่า เธอขอพระราชทานทูลเกล้าฯ ถวายร่างพระราชกฤษฎีกายุบสภา พ.ศ. 2556 เพื่อให้ชาวไทยยุติวิกฤตการณ์ อย่างไรก็ดี สุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้นำการประท้วงต่อต้านรัฐบาล กล่าวว่า การประท้วงจะดำเนินต่อไปจนกว่าจะบรรลุข้อเรียกร้อง รวมทั้งการจัดตั้ง "สภาประชาชน" ที่มิได้มาจากการเลือกตั้ง เขากล่าวว่า "การยุบสภาไม่ใช่เป้าหมายของเรา" ยิ่งลักษณ์ยังกล่าวว่าเธอจะไม่ลาออกก่อนหน้าการเลือกตั้ง

วันที่ 31 มกราคม สุเทพประกาศว่า หน่วยเลือกตั้งจะสามารถเปิดทำการได้สำหรับการเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ตามปกติ ทว่า แหล่งข้อมูลยังว่า สุเทพเชื่ออย่างแรงกล้าว่า วันเลือกตั้งอย่างเป็นทางการจะเป็นโมฆะเพราะปัญหากฎหมายหลายอย่างที่จะเกิดตามมา

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2554 กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 500 คน เป็นสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 375 คน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อจำนวน 125 คน

ในการเลือกตั้งครั้งนี้ หมายเลขผู้สมัครที่จับในระบบบัญชีรายชื่อจะใช้กับระบบแบ่งเขตเลือกตั้งด้วย แต่ละพรรคจะใช้หมายเลขเดียวกันทั้งสองระบบทั่วประเทศ หมายเลขที่แต่ละพรรคจับได้มีดังนี้

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยครั้งนี้ แบบแบ่งเขตลงคะแนนแบบ "เขตเดียวเบอร์เดียว" คือ แบ่งเขตเลือกตั้งเป็น 375 เขต โดยให้แต่ละเขตมีจำนวนประชากรที่ใกล้เคียงกันให้มากที่สุด ดังนั้น ในแต่ละเขตจะมีผู้แทนได้เขตละ 1 คนอย่างเท่าเทียมกัน และผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งสามารถเลือกผู้สมัครได้เพียงคนเดียว

นอกจากนั้น มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนเขตเลือกตั้งจากครั้งการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรปี พ.ศ. 2554 ใน 2 จังหวัด ได้แก่จังหวัดนนทบุรีที่เดิมมี 6 เขตเลือกตั้ง เพิ่มเป็น 7 เขตเลือกตั้ง และจังหวัดสุโขทัยเขตเลือกตั้งลดลงจาก 4 เขตเลือกตั้ง เป็น 3 เขตเลือกตั้ง

อนึ่ง การเลือกตั้งครั้งนี้ อดีตกรรมการบริหารพรรคที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี จากพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย (บ้านเลขที่ 111 บ้านเลขที่ 109) ได้รับสิทธิทางการเมืองกลับคืนมาทั้งหมด

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ถูกเพิกถอน หลังจากกิตติพงศ์ กมลธรรมวงศ์ อาจารย์วิชากฎหมายสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอว่า ควรยกเลิกการเลือกตั้ง อย่างไรก็ดี ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจยื่นคำร้องเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายเท่านั้น ไม่อาจยื่นคำร้องเกี่ยวกับการเลือกตั้งได้ ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญแทน โดยยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2557

ต่อมาวันที่ 21 มีนาคม 2557 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยด้วยคะแนนเสียงหกต่อสามว่า เมื่อพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรกำหนดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 แต่การเลือกตั้งไม่สามารถแล้วเสร็จทั่วประเทศภายในวันดังกล่าวได้ พระราชกฤษฎีกาจึงขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 วรรคสอง ที่กำหนดให้การเลือกตั้งต้องเป็นวันเดียวกันทั่วประเทศ และเมื่อพระราชกฤษฎีกาในส่วนที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งนี้จึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญไปด้วย


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

แรง (ฟิสิกส์) ความยาว การเคลื่อนที่ ทฤษฎีเคออส กลศาสตร์แบบลากรางช์ เอนริโก แฟร์มี สมมาตรยิ่งยวด CERN Large Hadron Collider ไอน์สไตน์ ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป กาลิเลโอ ฟิสิกส์อนุภาค วิศวกรรมวัสดุ เซมิคอนดักเตอร์ นาโนเมตร วัสดุนาโน วัสดุฉลาด วัสดุเชิงก้าวหน้า วัสดุชีวภาพ พอลิเมอร์ เซรามิก สเปกโตรสโกปี อุณหเคมี ไฟฟ้าเคมี เคมีเชิงฟิสิกส์ โลหะอินทรีย์เคมี เคมีพอลิเมอร์ เคมีนิวเคลียร์ ชีววิทยาโมเลกุล เคมีเวชภัณฑ์ เคมีดาราศาสตร์ เคมีไคเนติกส์ สารประกอบอนินทรีย์ สารประกอบเคมี สารประกอบ John Dalton ทฤษฎีโฟลจิสตัน อ็องตวน ลาวัวซีเย Robert Boyle ปฏิกิริยาเคมี รายชื่อคณะวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย เคมีสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม Social psychology วิทยาศาสตร์สังคม เทคนิคการแพทย์ เวชศาสตร์ พยาธิวิทยา เนื้องอกวิทยา ทัศนมาตรศาสตร์ Pharmacy บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ วิทยาศาสตร์พุทธิปัญญา สารสนเทศศาสตร์ วิทยาการสารสนเทศ สัตววิทยา วิทยาไวรัส ประสาทวิทยาศาสตร์ อณูชีววิทยา จุลชีววิทยา วิทยาภูมิคุ้มกัน มีนวิทยา มิญชวิทยา กีฏวิทยา Developmental biology วิทยาเซลล์ ชีววิทยาของเซลล์ วิทยาแผ่นดินไหว ชลธารวิทยา สมุทรศาสตร์ เคมีความร้อน เคมีไฟฟ้า เคมีการคำนวณ เคมีวิเคราะห์ Particle physics พลศาสตร์ของไหล พลศาสตร์ สวนศาสตร์ ฟิสิกส์เชิงทฤษฎี โป๊ป ความเรียง เรอเน เดส์การตส์ การสังเกต การทดลอง ฟรานซิส เบคอน กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความรู้เชิงประจักษ์ คณิตตรรกศาสตร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย ไม้บรรทัด กระดูกนาเปียร์ ลูกคิด การแข่งขันคณิตศาสตร์ รางวัลอาเบล เหรียญฟิลด์ส ปัญหาของฮิลแบร์ท กลุ่มความซับซ้อน พี และ เอ็นพี ข้อความคาดการณ์ของปวงกาเร สมมติฐานความต่อเนื่อง

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
235
236
237
238
239
240
241
242
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 24187